แถบเครื่องมือใน GemPhoneFarm

ในโปรแกรมของเรา ยังมีแถบเครื่องมือที่ช่วยให้คุณใช้งานโปรแกรม GemPhoneFarm ได้สะดวกและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แถบเครื่องมือเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น แต่ยังมีการจัดระเบียบและแบ่งแยกฟังก์ชันต่าง ๆ อย่างชัดเจน ทำให้คุณสามารถค้นหาและใช้งานเครื่องมือที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยการแบ่งฟังก์ชันการใช้งานออกเป็นหัวข้อดังนี้ :


Devices

ในแถบ Devices ของ GemPhoneFarm คุณจะพบรายชื่อมือถือหรือ Emulator ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน หรือเคยเชื่อมต่อมาก่อนหน้านี้จะถูกโชว์รายชื่อในหน้าต่างนี้

ฟังก์ชันหลักของแถบ Devices ได้แก่ :

  • การ สะท้อนภาพหน้าจอ (Mirror) ของมือถือหรือ Emulator เพื่อให้ผู้ใช้สามารถดูหน้าจอแบบเรียลไทม์ได้

  • การ ควบคุมอุปกรณ์ อย่างอิสระผ่านแถบ Devices โดยสามารถสั่งงานหรือสั่งเปิดแอปต่าง ๆ ได้ตามต้องการ

  • การ ตั้งค่า Proxy สำหรับมือถือหรือ Emulator เพื่อใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านพร็อกซีตามต้องการ

  • การ ตั้งค่าการทำงานอัตโนมัติ ตามสคริปต์ที่เลือก เพื่อให้ระบบรันงานต่าง ๆ บนอุปกรณ์โดยอัตโนมัติ


Accounts

ในแถบ Account ของ GemPhoneFarm คุณสามารถเพิ่มบัญชีผู้ใช้จากหลากหลายแพลตฟอร์ม เช่น Facebook, TikTok หรือ Google ได้อย่างง่ายดาย

ผู้ใช้สามารถตั้งค่า Email และ Password ของแต่ละบัญชีตามรูปแบบที่ได้เตรียมไว้ล่วงหน้า และสามารถเพิ่มอุปกรณ์ที่ต้องการใช้บัญชีเหล่านั้นได้อย่างอิสระ

เมื่อใช้งานร่วมกับ Workflow บัญชีที่ตั้งค่าไว้จะพร้อมให้เข้าถึงและใช้งานได้ทันที ช่วยเพิ่มความสะดวกและประสิทธิภาพในการจัดการหลายบัญชีพร้อมกัน


Control Center

ใช้สำหรับปรับขนาดและความละเอียดของหน้าจอตัวจำลองโทรศัพท์มือถือ พร้อมตั้งค่าการเชื่อมต่ออุปกรณ์มือถือผ่านพอร์ตและสามารถเชื่อมต่อหรือสแกนอุปกรณ์ผ่านสาย OTG หรือเครือข่าย TCP/IP ได้อย่างแม่นยำ

  • Settings

    ใช้สำหรับปรับขนาดหน้าจอและความละเอียดของตัวจำลองโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้การแสดงผลเหมาะสมกับการใช้งานและประสิทธิภาพของระบบ

  • OTG

    หน้าจอนี้เป็นส่วนตั้งค่าการเชื่อมต่ออุปกรณ์มือถือผ่าน OTG หรือ TCP/IP โดยผู้ใช้สามารถกำหนดหมายเลขพอร์ตและระบุ IP Address ของอุปกรณ์เป้าหมาย เพื่อให้ระบบทำการเชื่อมต่อหรือสแกนอุปกรณ์นั้นได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว


Automation

แถบ Automation คือแถบเครื่องมือที่จะให้คุณสร้างและจัดการ Workflow อัตโนมัติ โดยในแถบนี้ คุณจะสามารถ:

  1. สร้าง Workflow ใหม่: ออกแบบการทำงานที่คุณต้องการให้เป็นอัตโนมัติ โดยไม่ต้องเขียนโค้ดเอง

  2. จัดการ Workflow ที่มีอยู่: สามารถเข้าไปแก้ไขหรือตรวจสอบ Workflow ที่เคยสร้างไว้ได้อย่างสะดวก

  3. ส่งออกและนำเข้าสคริปต์ได้อย่างอิสระ: คุณสามารถส่งออกสคริปต์ที่ทำ และนำเข้าสคริปต์ได้ผ่านแถบนี้


Marketplace

แถบ Marketplace คือส่วนที่ให้ผู้ใช้งานเข้ามาเลือกดาวน์โหลดสคริปต์ฟรี หรือเช่าสคริปต์มาใช้งานภายในโปรแกรม โดยสคริปต์ภายใน Marketplace มี 2 ประเภท ดังนี้

  1. สคริปต์ที่สามารถแก้ไขได้ สามารถตรวจสอบได้ที่ด้านล่างของชื่อสคริปต์ หากเป็นรูปแม่กุญแจสีเขียว หมายความว่า สคริปต์นั้นสามารถแก้ไขได้ เมื่อดาวน์โหลดแล้วจะเข้าไปแก้ไขในหน้า Workflow ได้อย่างอิสระ

  2. สคริปต์ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ สามารถตรวจสอบได้ที่ด้านล่างของชื่อสคริปต์ หากเป็นรูปแม่กุญแจสีแดง หมายความว่า สคริปต์นั้นไม่สามารถแก้ไขได้ เมื่อดาวน์โหลดจะไม่สามารถเข้าไปแก้ไขในหน้า Workflow ได้ แต่สามารถรันผ่านโปรไฟล์และตั้งพารามิเตอร์ ได้ตามปกติ


Packages

หน้าจอนี้ใช้สำหรับจัดการชุดคำสั่ง โดยผู้ใช้สามารถดาวน์โหลด, นำเข้า หรือสร้างชุดคำสั่งใหม่ จากนั้นบันทึกเป็นแพ็กเกจ Package เพื่อใช้งานร่วมกับสคริปต์อื่น ๆ ได้อย่างสะดวก โดยไม่ต้องสร้างชุดคำสั่งซ้ำในทุกครั้ง

ภายในหน้าแพ็กเกจจะประกอบด้วยเมนูหลัก 2 เมนู ดังนี้

  • Store Packages สำหรับดาวน์โหลดชุดคำสั่งต่าง ๆ จากหน้าร้านค้า

  • Manage Packages สำหรับนำเข้าชุดคำสั่งจากภายนอก หรือสร้างชุดคำสั่งใหม่ตามต้องการ


Database

ในส่วนนี้เป็นพื้นที่สำหรับจัดการหรือเก็บข้อมูลต่างๆ ในรูปแบบของตาราง Table ซึ่งคุณสามารถใช้เพื่อบันทึก จัดระเบียบ และแสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำงานต่างๆ ใน Workflow ของคุณ

โดยมีฟีเจอร์นี้รองรับการทำงานต่าง ๆ ดังนี้:

  1. การสร้างตาราง (Table)

    • ผู้ใช้สามารถสร้าง ตารางใหม่ ได้ โดยสามารถกำหนดชื่อของตารางและเลือก ประเภทข้อมูล ที่แต่ละ Column จะเก็บได้ เช่น ข้อความ (Text), ตัวเลข (Number), วันเวลา (Date/Time) ฯลฯ

  2. การเพิ่ม Column ในตาราง

    • สามารถเพิ่ม Columns เข้าไปในตารางที่สร้างขึ้นใหม่ เพื่อเก็บข้อมูลในรูปแบบที่แตกต่างกัน

    • ผู้ใช้สามารถกำหนดชื่อของแต่ละ Column และ ประเภทข้อมูล ที่ต้องการให้แต่ละ Column เก็บได้

  3. การสร้างหลายตารางใน Database เดียวกัน

    • ฟีเจอร์นี้รองรับการสร้างตารางหลายตารางภายใน Database เดียวกัน ซึ่งช่วยในการจัดการข้อมูลหลายประเภทหรือหลายชุดข้อมูลภายในระบบเดียว

  4. การเชื่อมต่อระหว่าง Tables

    • Table ที่สร้างใน Database สามารถเชื่อมโยงข้อมูลหรือ เชื่อมกับตารางอื่นภายในสคริปต์ ได้อย่างสะดวก

    • การเชื่อมต่อระหว่าง Tables ช่วยให้สามารถทำงานร่วมกันได้ เช่น การดึงข้อมูลจากหลายตารางมาประมวลผลในสคริปต์เดียว

  5. การจัดการ Column

    • ระบบรองรับการ เพิ่ม, แก้ไข, และลบคอลัมน์ ในแต่ละ Table ได้ง่ายดาย

สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเมื่อสร้างตารางคือการกำหนดชนิดของข้อมูลในแต่ละคอลัมน์ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ใส่ลงไปในตารางมีความสอดคล้องและถูกต้องตามประเภทที่กำหนดไว้ ซึ่งจะช่วยให้การจัดการข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น ตัวอย่างของชนิดข้อมูลที่อาจกำหนดได้ในแต่ละคอลัมน์ ได้แก่:

  • Text (ข้อความ): สำหรับข้อมูลที่เป็นตัวอักษร เช่น ชื่อผู้ใช้งาน, อีเมล, สถานะ เป็นต้น

  • Number (ตัวเลข): สำหรับข้อมูลที่เป็นตัวเลข เช่น จำนวน, คะแนน, หรือข้อมูลเชิงปริมาณอื่นๆ

  • Array: เป็นโครงสร้างข้อมูลชนิดหนึ่งที่ใช้ในการจัดเก็บชุดของข้อมูลที่มีชนิดเดียวกัน โดยข้อมูลใน Array จะถูกจัดเก็บในลำดับที่ต่อเนื่องกัน ซึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลแต่ละตัวได้โดยใช้ดัชนี (Index) ซึ่งเริ่มต้นที่ 0 (ในภาษาโปรแกรมส่วนใหญ่)

  • Boolean(จริง/เท็จ): สำหรับข้อมูลที่มีเพียงสองสถานะ เช่น ใช่/ไม่ใช่, เปิด/ปิด, หรือ Active/Inactive

  • Any: เป็นตัวแปรชนิดหนึ่งที่สามารถเก็บข้อมูลได้หลายประเภท โดยไม่จำกัดชนิดข้อมูลเฉพาะใด ๆ ซึ่งหมายความว่า Any สามารถเก็บได้ทั้งตัวเลข (Integers, Floats), ข้อความ (Strings), อาร์เรย์ (Arrays), วัตถุ (Objects) หรือข้อมูลประเภทอื่น ๆ การใช้งาน Any มักเกิดขึ้นเมื่อคุณไม่แน่ใจว่าข้อมูลที่รับเข้ามาจะเป็นชนิดไหน หรือเมื่อคุณต้องการให้ฟังก์ชันหรือฟีเจอร์หนึ่ง ๆ สามารถทำงานกับข้อมูลหลายประเภทได้อย่างยืดหยุ่น


Logs

แถบ Logs ใช้สำหรับดูข้อความการรันบล็อกต่าง ๆ ภายในสคริปต์ โดยแยกตามแต่ละอุปกรณ์ที่ใช้รันสคริปต์นั้น ๆ ผู้ใช้สามารถทำได้ดังนี้:

  1. เลือกดูข้อความการรันบล็อกที่ถูกรันโดยอุปกรณ์ต่าง ๆ

    • ผู้ใช้สามารถเลือกดูข้อความการรันบล็อกของแต่ละสคริปต์ ที่ถูกรันโดยอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยข้อมูลจะอยู่ในรูปแบบข้อความการรันของแต่ละบล็อก เรียงตามลำดับการทำงาน และแสดงสถานะว่าสำเร็จหรือไม่

  2. ดูข้อมูลตัวแปรภายในสคริปต์ที่ถูกรัน

    • ผู้ใช้สามารถดูตัวแปรที่ถูกเก็บในสคริปต์ ทั้งตัวแปรที่รับมาตั้งแต่เริ่มต้น และตัวแปรที่ถูกเก็บในระหว่างการทำงาน

  3. ดูข้อมูลตารางภายในสคริปต์ที่ถูกรัน

    • ผู้ใช้สามารถดูตารางข้อมูลที่ถูกเก็บในขณะที่สคริปต์กำลังทำงาน

  4. นำข้อมูลออกเป็นไฟล์

    • ผู้ใช้สามารถเลือกนำข้อมูลออกในรูปแบบไฟล์ JSON, CSV หรือ Plain text ตามต้องการ

  5. แก้ไข workflow หรือเลือกลบข้อมูลการรันบล็อก

    • ผู้ใช้สามารถเลือก Workflow ที่ต้องการแก้ไข แล้วกดเปิดใน Editor เพื่อแก้ไขด้วยตนเอง รวมถึงสามารถลบข้อมูลการรันบล็อกทีละรายการ หรือหลายรายการพร้อมกันได้


Settings

แถบ Settings เป็นเมนูสำหรับการตั้งค่าต่าง ๆ ภายในโปรแกรม โดยแบ่งออกเป็นหมวดหมู่หลัก ได้แก่

  • General ตั้งค่าทั่วไป เช่น การเปลี่ยนธีมโปรแกรม การตั้งค่าภาษา และการกำหนดโฟลเดอร์สำหรับเก็บไฟล์

  • Automation ตั้งค่าเกี่ยวกับ การลบข้อมูล Log โดยอัตโนมัติ

  • Editor ตั้งค่าเกี่ยวกับ Workflow เช่น การเปิดใช้งาน Auto-save การตั้งค่าการซูม และการจัดวางบล็อกตามกริด เพื่อความเป็นระเบียบ

  • Shortcuts กำหนดและปรับแต่งคีย์ลัดต่าง ๆ ภายในโปรแกรม เพื่อเพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการใช้งาน

Last updated

Was this helpful?